วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บทที่ 1.2

 1.2 อุบัติเหตุจากสารเคมี

      ในการทำปฏิบัติการเคมีอาจเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ จากการใช้สารเคมีได้ ซึ่งหากผู้ทำปฏิบัติการมี
ความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจะสามารถลดความรุนแรงและความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ โดยการ
ปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากอุบัติเหตุจากการใช้สารเคมี มีข้อปฏิบัติดังนี้
การปฐมพยาบาลเมื่อร่างกายสัมผัสสารเคมี
     1. ถอดเสื้อผ้าบริเวณที่เปื้อนสารเคมีออก และซับสารเคมีออกจากร่างกายให้มากที่สุด
     2. กรณีเปื้อนสารเคมีที่ละลายน้ำได้ เช่น กรดหรือเบส ให้ล้างบริเวณที่สัมผัสสารเคมีด้วยการ
เปิดน้ำไหลผ่านปริมาณมาก
     3. กรณีเป็นสารเคมีที่ไม่ละลายน้ำ ให้ล้างบริเวณที่สัมผัสสารเคมีด้วยน้ำสบู่
     4. หากทราบว่าสารเคมีที่สัมผัสร่างกายคือสารใด ให่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในเอกสารความ
ปลอดภัยของสารเคมี
     กรณีที่ร่างกายสัมผัสสารเคมีในปริมาณมากหรือมีความเข้มข้นสูง ให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วนำส่งแพทย
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา
     ตะแคงศีรษะโดยให้ตาด้านที่สัมผัสสารเคมีอยู่ด้านล่าง ล่างตาโดยการเปิดน้ำเบา ๆ ไหลผ่าน
ดั้งจมูกให้น้ำไหลผ่านตาข้างที่โดนสารเคมี ดังรูป 1.5 พยายามลืมตาและกรอกตาในน้ำอย่างน้อย 10
นาที หรือจนกว่าแน่ใจว่าชะล้างสารออกหมดแล้ว ระวังไม่ให้น้ำเข้าตาอีกข้างหนึ่ง แล้วนำส่งแพทย์ทันที


การปฐมพยาบาลเมื่อสูดดมแก็สพิษ
     1. เมื่อมีแก็สพิษเกิดขึ้น ต้องรีบออกจากบริเวณนั้นและไปบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกทันที
     2. หากมีผู้ที่สูดดมแก็สพิษจนหมดสติหรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต้องรีบเคลื่อนย้าย
ออกจากบริเวณนั้นทันที โดยที่ผู้ช่วยเหลือต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม เช่น หน้ากากป้องกัน
แก็สพิษ ผ้าปิดปาก
     3. ปลดเสื้อผ้าเพื่อให้ผู้ประสบอุบัติเหตุหายใจได้สะดวกขึ้น หากหมดสติให้จับนอนคว่ำและ
ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันโคนลิ้นกีดขวางทางเดินหายใจ
     4. สังเกตการเต้นของหัวใจและการหายใจ หากว่าหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจให้นวดหัวใจ
และผายปอดโดยผู้ที่ผ่านการฝึก แต่ไม่ควรใช้วิธีเป่าปาก (mouth to mouth) แล้วนำส่งแพทย์ทันที
การปฐมพยาบาลเมื่อโดนความร้อน
     แช่น้ำเย็นหรือปิดแผลด้วยผ้าชุบน้ำจนหายปวดแสบปวดร้อน แล้วทายาขี้ผึ้งสำหรับไฟไหม้
และน้ำร้อนลวก หากเกิดบาดแผลใหญ่ให้นำส่งแพทย์
กรณีที่สารเคมีเข้าปากให้ปฏิบัติตามคำแนะนำตามเอกสารความปลอดภัย











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 3.5

  3.5 การใช้ประโชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ สมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ      จากการที่สารประกอ...